วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบใหม่








อธิบายโปรตีนเป็น ส่วนประกอบของเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ มีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน และไนโตรเจนเป็นส่วนประกอบในปริมาณมาก ส่วนธาตุที่ประกอบในปริมาณน้อยได้แก่ กำมะถัน ฟอสฟอรัส เหล็ก โปรตีนจะแตกต่างกันหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกรดอะมิโนซึ่งเป็นส่วนประกอบย่อยของโปรตีนกรดอะมิโนกรด อะมิโนเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญกับสุขภาพของมนุษย์และสัตว์ กรดอะมิโนได้มาจากการที่โปรตีนถูกย่อย เพื่อนำไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อต่างๆรวมทั้งนำไปเป็นพลังงาน กรดอะมิโนที่สำคัญ ได้แก่ ธรีโอนีน(threonine) วิลเลียม โรส เป็นผู้ค้นพบ เขาพบว่า เมื่อคนกินอาหารที่ขาดอะมิโนชนิดนี้สักระยะหนึ่ง คนเหล่านั้นจะรู้สึกหงุดหงิดเข้ากับคนได้ยาก ไม่มีสมาธิในการทำงาน อาการเช่นนี้จะหมดไปเมื่อเติมกรดอะมิโนชนิดนี้ลงไปในอาหาร จะเห็นได้ว่ากรดอะมิโนมีผลต่อร่างกายและสมองโปรตีนที่ได้จากนมเรียก ว่า เคซีน เป็นโปรตีนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน แต่ผู้ใหญ่ส่วนมากไม่สามารถดื่มนมได้ เพราะการแพ้ที่ต่างๆกัน เช่น ท้องอืด ท้องเดิน อาการเช่นนี้เกิดจากการที่ร่างกายของผู้ใหญ่ส่วนมากขาดเอนไซม์ที่มีชื่อว่า แลกเตสที่ใช้ในการย่อยแลกเตสในน้ำนมเมื่ออาหารในโปรตีนถูกย่อย จะกลายเป็นกรดอะมิโน กรดอะมิโนแบ่งเป็น 2 พวก ได้แก่กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย เป็นกรดอะมิโนที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ได้ จำเป็นต้องได้นับจากอาหารเท่านั้นกรดอะมิโนที่ไม่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่กรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้โปรตีน ประเภทสมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนจำเป็นต่อร่างกายทุกชนิด และอยู่ในสัดส่วนที่พอเหมาะกับร่างกาย โปรตีนชนิดนี้มีอยู่ในเนื้อสัตว์ ไข่ นม และถั่วเหลืองโปรตีนประเภทไม่สมบูรณ์ เป็นโปรตีนที่มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายไม่ครบทุกชนิด โปรตีนชนิดนี้ มีในอาหารจำพวกพืชที่มีโปรตีนทั่วไป ยกเว้นถั่วเหลืองหน้าที่ของโปรตีนสร้างเนื้อเยื่อต่างๆและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ในอวัยวะต่างๆเป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย และฮอร์โมนเป็นส่วนประกอบของสารเคมีที่สามารถต้านทานโรคให้พลังงาน คือ โปรตีน 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรีร่างกายสามารถใช้โปรตีนแทนคาร์โบไฮเดรตได้








ตอบ ข้อ4 ครับ























อธิบายคาร์โบไฮเดรตคาร์โบ ไฮเดรต เป็นสารประกอบอินทรีย์เคมี ซึ่งมีธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจนเป็นส่วนประกอบ พืชใช้พลังงานจากแสงแดดในการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรตจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ในอากาศและน้ำซึ่งดูดจากดิน และจะสะสมอาหารในส่วนต่างๆของพืช เช่น เมล็ด ใบ หัว ลำต้น ชนิดของคาร์โบไฮเดรตมีหลายชนิด จัดเป็นพวกใหญ่ๆได้ดังนี้น้ำตาล ชั้นเดียว (โมโนแซคคาไรด์) มีโมเลกุลเล็กที่สุด มีรสหวาน และละลายน้ำได้ เช่น กลูโคส ฟรุกโตส(ได้มาจากผลไม้) กาแลคโตส(ได้มาจากการสลายตัวของแลกโตสในนม)น้ำตาล 2 ชั้น (ไดแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลชั้นเดียว2โมเลกุลมารวมกัน จึงจัดเป็นน้ำตาล2ชั้น มีรสหวาน ละลายน้ำได้ เช่น ซูโครส(กลูโคส+ฟรุกโตส) แลกโตส(กลูโคส+กาแลกโตส) มอลโตส(กลูโคส+กลูโคส)น้ำตาลหลายชั้น (โพลีแซคคาไรด์) ประกอบด้วยน้ำตาลโมเลกุลเดียวมากกว่าสองโมเลกุลมารวมกัน ไม่มีรสหวานและไม่ละลายน้ำ พืชและสัตว์มักเก็บคาร์โบไฮเดรตในรูปน้ำตาลหลายชั้น เช่น แป้งในพืช ไกลโคเจนในสัตว์ เซลลูโลสในพืชหน้าที่ของคาร์โบไฮเดรตให้พลังงานและความร้อน คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้พลังงานประมาณ 4 แคลอรีช่วยให้การใช้ไขมันในร่างกายดำเนินไปอย่างปกติ ถ้าคาร์โบไฮเดรตมีไม่เพียงพอในอาหาร การใช้ไขมันในร่างกายจะไม่สมบูรณ์ด้วยคาร์โบไฮเดรตบางชนิด เช่น กลูโคส เป็นอาหารของเซลล์และเนื้อเยื่อในสมองโมเลกุลของกลูโคส ใช้ในการสังเคราะห์กรดอะมิโนในร่างกายร่างกายสามารถเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตที่เหลือเป็นไขมันได้ และจะถูกสะสมในร่างกาย ดังนั้นไม่ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป


















ตอบ ข้อ1 ครับ

































อธิบายกรดไขมัน (Fatty Acids)กรดไขมันอาจแบ่งได้เป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ1. กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนทุกตัวในโมเลกุลไม่สามารถจับกับไฮโดรเจนเพิ่มได้และไม่สามารถจะจับกับสารใดๆ ได้อีก ไขมันอิ่มตัวมักได้มาจากสัตว์ ซึ่งมีลักษณะแข็งตัวได้แม้ในอุณหภูมิปกติ เช่น เนยแข็งน้ำมันหมู ช็อคโกแลต เป็นต้น โดยพวกนี้จะมีไขมันที่ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดจับตัว2. กรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acids) หมายถึง กรดไขมันที่คาร์บอนในโมเลกุลสามารถเกาะกับไฮโดรเจนเพิ่มขึ้นได้กรดไขมันไม่อิ่มตัวแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ2.1 กรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียว ไขมันชนิดนี้แทบไม่มีบทบาทอะไรกับปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือด เช่น น้ำมันมะกอกน้ำมันคาโนลา เป็นต้น2.2 กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง กรดไขมันชนิดนี้สำคัญต่อร่างกายมาก ช่วยในการทำงานของอวัยวะสำคัญในร่างกาย มีลักษณะเหลวแม้ในอุณหภูมิต่ำ ส่วนใหญ่ได้จากพืชและสัตว์น้ำบางชนิด เช่น น้ำมันทานตะวัน น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพดคอเลสเตอรอล (Cholesterol)ไขมันชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อร่างกายเพื่อใช้ในการสร้างฮอร์โมน วิตามินอี และกรดน้ำดีซึ่งช่วยย่อยอาหาร ถ้าร่างกายมีคอเลสเตอรอลสูงเกินกว่าปกติ (มากกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร) ก็จะก่อให้เกิดผลเสียจากการที่คอเลสเตอรอลไปพอกตามผนังหลอดเลือดแดงทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคหัวใจวาย เป็นต้น เราจะพบคอเลสเตอรอลเฉพาะในสัตว์ และพบมากในอาหารที่มาจากเครื่องในสัตว์รวมทั้งไข่แดงไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride)ไขมันและน้ำมันที่ได้จากพืชและสัตว์มีสารประกอบส่วนใหญ่เป็นไตรกลีเซอไรด์ นอกจากนี้ ไตรกลีเซอไรด์ยังเกิดขึ้นได้จากกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล ดังนั้น หากรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรทในปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลทำให้ไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้นได้ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ค่าปกติของไตรกลีเซอไรด์ควรอยู่ระหว่าง 70-200 มิลลิกรัม/เดซิลิตรฟอสโฟลิปิด (Phospholipid)เป็นไขมันที่มีคุณสมบัติละลายได้ทั้งในน้ำและไขมัน






























ตอบ ข้อ4 ครับ
























































อธิบายกรดอะมิโน คือ กรดอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่มีหมู่คาร์บอกซิล และหมู่อะมิโนเป็นหมู่ฟังก์ชันสูตรทั่วไปกรด อะมิโนที่พบเป็นองค์ประกอบของโปรตีนมี 20 ชนิด และกรดอะมิโนจำเป็นมี 8 ชนิด คือ เมไทโอนีน ทรีโอนีน ไลซีน เวลีน ลิวซีน ไอโซลิวซีน เฟนิลอะลานิน และทริปโตเฟน มีความสำคัญสำหรับมนุษย์สมบัติของกรดอะมิโน1. สภานะ ของแข็ง ไม่มีสี2. การละลายน้ำ ละลายน้ำ เกิดพันธะไฮโดรเจนและแรงแวนเดอร์วาลส์3. จุดหลอมเหลว สูง อยู่ระหว่าง 150 - 300 C เพราะเกิดพันธะไฮโดรเจน4. ความเป็นกรด-เบส กรด-เบส Amphoteric substanceการเกิดพันธะเพปไทด์พันธะ เพปไทด์ คือ พันธะโคเวเลนต์ที่เกิดขึ้นระหว่าง C อะตอมในหมู่คาร์บอกซิล ของกรดอะมิโนโมเลกุลหนึ่งยึดกับ N อะตอม ในหมู่อะมิโน (-NH2) ของกรดอะมิโนอีกโมเลกุลหนึ่งสารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 โมเลกุล เรียกว่า ไดเพปไทด์สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโน 3 โมเลกุล เรียกว่า ไตรเพปไทด์สารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนตั้งแต่ 100 โมเลกุลขึ้นไป เรียกว่า พอลิเพปไทด์นี้ว่า โปรตีนอนึ่งสารสังเคราะห์บางชนิดก็เกิดพันธะเพปไทด์เหมือนกัน เช่น ไนลอน ดังนี้












































ตอบ ข้อ 2 ครับ







































































อธิบายกรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก (deoxyribonucleic acid, DNA ) พบ DNA ในโครโมโซม เป็นตัวสำคัญในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมในนิวเคลียส กรดนิวคลีอิกอีกชนิดหนึ่ง คือ กรดไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid ,RNA)พบในไรโบโซมRNA และในไซโตพลาสซึม มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีน ทั้ง DNA และ RNA เป็นพอลิเมอร์ธรรมชาติหน้าที่DNA ทำหน้าที่หลักในการเก็บรักษาและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดRNA ทำหน้าที่หลักในการถ่ายทอดข้อความทางพันธุกรรมจาก DNA ไปเป็นโปรตีนกรดนิวคลีอิกทั้ง DNA และ RNA ถูกไฮโดรไลซ์แล้ว จะให้มอนอเมอร์ เรียกว่านิวคลีโอไทด์ถ้าไฮโดรไลซ์นิวคลีโอไทด์์ต่อไปจะให้นิวคลีโอไซด์ และกรดฟอสฟอริก นิวคลีโอไซด์ถูกไฮโดรไลซ์ต่อไปให้เฮเทอโรไซคลิกเบสและน้ำตาลเพนโทส ซึ่งถ้าเป็น RNA เพนโทส คือ D-Ribose และ 2-Deoxyriboseในกรณีที่เป็น DNAกรดนิวคลีอิกสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทใหญ่ๆคือ กรดดีออกซีไรโบนิวคลีอิก(deoxyribonucleicacid, DNA ) และกรด ไรโบนิวคลีอิก (ribonucleic acid , RNA) DNA และ RNA ตามลำดับมีโครงสร้างโมเลกุลพื้นฐานเป็น 3 ส่วน เหมือนกันคือ ไนโตรเจนเบส ( nitrogenous base) น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 ตัว(น้ำตาลไรโบส และ ดีออกซีไรโบส)และหมู่ฟอสเฟต


















ตอบ ข้อ 2 ครับ




















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น